• ติดต่อสอบถาม
  • การเดินทาง
  • FAQ
  • แผนผังเว็บไซต์
  • facebook
  • Blogger

> ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น

ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น

ลักษณะของหลักสูตรการเรียนการสอนเฉพาะของ

แบ่งเป็น 7 ระดับและมีระบบเลื่อนชั้นตามความสามารถ

หลักสูตร 2 ปี (เปิดภาคเรียน ปีละ 2 ครั้ง เดือนเมษายนและตุลาคม)
ปรับเลื่อนชั้นทุกๆ 6 เดือน
⇒ตารางแสดงการแบ่งระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น /  ⇒เกณฑ์การเลื่อนชั้น

วิชาสัมมนาและนำเสนอผลงาน

กิจกรรมค้นคว้าและวิจัยซึ่งจะต้องใช้ความรู้ความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นทุกด้าน (วิชาสัมมนา)
ฝึกฝนความสามารถในการนำเสนอ
แสดงผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในงานประชุมนำเสนอผลงาน ณ โรงละครใหญ่ของมหาวิทยาลัย
⇒วิชาสัมมนา

วิชาเลือกที่เรียนเป็นภาษาญี่ปุ่น

⇒วิชาเลือก

ตารางเรียน
※วิชาที่เปิดสอนอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละเทอม
⇒ตารางการสอน(ตารางเวลาจริงของปีการศึกษา 2567)

ปฏิทินการศึกษา
⇒2025 ปฏิทินการศึกษา

โครงสร้างวิชาเรียน

วิชาบังคับ
กลุ่มวิชาพื้นฐาน

วิชาเพื่อศึกษาความรู้ทางภาษาและฝึกฝนทักษะทางภาษา (สัปดาห์ละ 20 ชม.) 20 lesson hours/week
รูปประโยคและ สำนวน ตัวอักษรและคำศัพท์ เสียง การฟัง พูด อ่าน เขียน
แบ่งเป็น 7 ระดับตั้งแต่ระดับพื้นฐานถึงระดับสูงสุด → ระบบเลื่อนชั้น
⇒เกณฑ์การเลื่อนชั้น

วิชาสัมมนา

วิชาที่จะได้นำความรู้ความสามารถที่เรียนรู้จากกลุ่มวิชาพื้นฐานทั้งหมดมาใช้จริง
⇒วิชาสัมมนา
แสดงผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในงานประชุมนำเสนอผลงาน

เตรียมสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นและเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยญี่ปุ่นสำหรับนักเรียนต่างชาติ

การเรียนเพื่อสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น N1- N2 และสอบเข้ามหาวิทยาลัยญี่ปุ่นสำหรับนักเรียนต่างชาติ
เลือกเรียนให้เหมาะสมตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ต่อไปในอนาคต

วิชาเลือก

กลุ่มวิชาที่จะเพิ่มความเข้าใจต่อญี่ปุ่นให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นจากหลากหลายมุมมอง 
.จากการ “เรียนภาษาญี่ปุ่น” ไปสู่ชั้นเรียนที่ “เรียนด้วยภาษาญี่ปุ่น”
⇒วิชาเลือก

กิจกรรมการเรียนรู้นอกชั้นเรียน

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ไม่หยุดอยู่แค่ในห้องเรียน
⇒กิจกรรมการเรียนรู้นอกชั้นเรียน

โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยวิชาชีพ

โครงการประสานความร่วมมือกับ Kyoto University of the Arts และ Kyoto Institute of Design ซึ่งเป็นสถาบันในเครือเดียวกัน
⇒โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยวิชาชีพ

วิชาสัมมนา

  • ระดับสูง
  • ระดับกลาง
  • ระดับต้น

ระดับสูง

วิชาสัมมนา ระดับสูง 2 (สัมมนา I)
อภิปรายแสดงความคิดเห็นและสรุปเนื้อหาที่ศึกษามาและนำเสนอรายงานเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนด
ตัวอย่างหัวข้อ: “ประสบการณ์ข้ามวัฒนธรรมของฉัน” “พิจารณาเรื่องการใช้นามสกุลแยกกันของสามีภรรยา” “การท้าทายของแบรนด์เกียวโตในสังคมโลก”

วิชาสัมมนา ระดับสูง 2 (สัมมนา II)
ถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ อภิปรายแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ตัวต่อตัว รับฟังบรรยายจากวิทยากรชาวญี่ปุ่นที่เชิญมา ถามตอบ สรุปเนื้อหาและจดบันทึก นอกจากนี้ มีการให้ออกมานำเสนอเรื่องราวใกล้ตัวแบบไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

วิชาสัมมนา ระดับสูง 1
ฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นโดยการรวบรวมข้อมูลและฝึกใช้ภาษาญี่ปุ่นที่เรียนจากในห้องเรียน เรียนรู้สังคมญี่ปุ่นอีกส่วนหนึ่งจากการพูดคุยกับคนญี่ปุ่นหลากหลายวัย ศึกษาเรื่องชุมชนร้านค้า Sanjo และออกมานำเสนอผลการศึกษา


ระดับกลาง

วิชาสัมมนา ระดับกลาง 3
ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคมญี่ปุ่นและทำรายงาน เข้าฟังบรรยายเรื่อง “Shirakawame” หรือหญิงสาวที่เดินเร่ขายดอกไม้ในเมืองเกียวโตตั้งแต่สมัยเฮอัน และได้ลองทำ “Shimenawa” หรือเชือกศักดิ์สิทธิ์ที่เคยได้รับความนิยมอย่างสูงในเขต “Kitashirakawa” ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน

วิชาสัมมนา ระดับกลาง 2
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีคิดของคนญี่ปุ่นโดยกำหนดหัวข้อเองและสัมภาษณ์คนญี่ปุ่น จากนั้นนำผลการสัมภาษณ์มาสรุปเป็นรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน

วิชาสัมมนา ระดับกลาง 1
ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่สงสัยเรื่องวัฒนธรรมญี่ปุ่น วิถีชีวิต วิธีคิดของผู้คน ความแตกต่างของญี่ปุ่นและประเทศบ้านเกิด ฯลฯ จากห้องสมุดหรืออินเทอร์เน็ต แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสรุปและรายงานในชั้นเรียน


ระดับต้น

วิชาสัมมนา ระดับต้น 2
ให้แบ่งกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ เช่น วัฒนธรรมแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น วัฒนธรรมการกิน วิถีชีวิต ฯลฯ การทำงานเป็นกลุ่มจะช่วยพัฒนาทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นที่เรียนมาในชั้นเรียน หลังจากนำเสนอรายงานในชั้นเรียนแล้ว สมาชิกกลุ่มต้องช่วยกันสรุปออกมาเป็นรูปเล่มรายงาน นอกจากนี้จะฝึกการอ่านออกเสียงเพื่อเข้าใจลักษณะเฉพาะของเสียงในภาษาญี่ปุ่นและความแตกต่างกับการออกเสียงในภาษาแม่

วิชาสัมมนา ระดับต้น 1
ชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะ “ฟัง” “พูด” “อ่าน” “เขียน” ฝึกใช้ภาษาญี่ปุ่นนอกเหนือจากตำราเรียน เช่น ให้ถ่ายทำวิดีโอด้วยตนเองโดยคิดบทพูดเองและถ่ายทำเองทั้งหมดหรือให้ออกมานำเสนอโปสเตอร์แนะนำเมืองของตนเองให้เพื่อนร่วมชั้นฟังและกล่าวสุนทรพจน์ ฯลฯ

วิชาเลือก

มีวิชาต่างๆ ให้เลือกเรียน เช่น เรียนเตรียมสอบ ศึกษาวัฒนธรรมเพื่อความเข้าใจ ฯลฯ นักเรียนสามารถเลือกเรียนวิชาต่างๆ ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการมาเรียนที่ญี่ปุ่น เช่น เพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย เพื่อการทำงาน เพื่อสัมผัสประสบการณ์ที่ญี่ปุ่น ฯลฯ

  • วัฒนธรรมเกียวโต I
  • วัฒนธรรมเกียวโต II
  • ภาษาญี่ปุ่นกับสถานการณ์ปัจจุบันเบื้องต้น
  • ภาษาญี่ปุ่นกับสถานการณ์ปัจจุบัน
  • ธุรกิจกับภาษาญี่ปุ่น
  • คลาสเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตวิทยาลัย
  • ท้าทายการคัดลายมือ
  • ท้าทายคันจิ
  • ศิลปะและการออกแบบขั้นพื้นฐาน
วัฒนธรรมเกียวโต I
เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเกียวโตผ่านวัฒนธรรมการใช้ชีวิต
  • สร้างความสนใจในเกียวโตที่คุณอาศัยอยู่ และเปิดโอกาสให้ค้นคว้าและสำรวจด้วยตนเอง
  • สนุกกับการรับรู้และเรียนรู้ข้อมูลโดยใช้ภาษาญี่ปุ่น
เรายังมีกิจกรรมให้สัมผัสวัฒนธรรมเกียวโตโดยตรง เช่น การเยี่ยมชมวัด ศาลเจ้า และบ้านโบราณแบบมาจิยะ
เสียงจากผู้เรียน

ฉันเรียนวิชานี้เพราะอยากรู้จักเกียวโตให้มากขึ้น มีการทำกิจกรรมนอกสถานที่หลายครั้ง ได้ไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาหารโชจินและวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นอีกด้วย ฉันได้สร้างแผนที่เกียวโตที่ระบุสถานที่แนะนำของตัวเอง ผ่านการเรียนเกี่ยวกับเกียวโต ทำให้ฉันเข้าใจประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น

วัฒนธรรมเกียวโต II
ภายใต้แนวคิด "เคียวกาคุ" (การศึกษาว่าด้วยเกียวโต) และ "เคียวชิตสึ" (พื้นที่สำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับเกียวโต) เราศึกษาเกียวโตผ่านประวัติศาสตร์ สัมผัสความสนุกของการเรียนรู้ และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเกียวโตในช่วงการใช้ชีวิตต่างแดน
  • ทำความเข้าใจภาพรวมของเกียวโตโดยการย้อนรอยประวัติศาสตร์ และค้นพบความสนุกในการเข้าใจเกียวโตในมุมมองของกาลเวลา
  • ค้นพบมุมมองของ "การสำรวจ" ที่ทำให้การเดินเที่ยวเกียวโตสนุกขึ้นหลายเท่า
เสียงจากผู้เรียน

เนื่องจากฉันเรียนวิชาเกียวโตวัฒนธรรม I มาก่อน ฉันจึงเลือกเรียนเกียวโตวัฒนธรรม II ในการเรียนภาคสนาม ฉันได้ไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ มากมาย และเรียนรู้เกี่ยวกับเกร็ดความรู้ของเกียวโตและขนมญี่ปุ่น ฉันประทับใจอุจิมากที่สุด หลักสูตรนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเกียวโตเป็นหลัก แม้ว่าบางส่วนจะยาก แต่ฉันก็ได้เรียนรู้สิ่งที่การอาศัยอยู่ในที่นี่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถให้ได้

ภาษาญี่ปุ่นกับสถานการณ์ปัจจุบันเบื้องต้น
ทำความเข้าใจเนื้อหาของบทความข่าวทั่วไป และผ่านการเรียนรู้นี้สามารถเข้าใจสังคมญี่ปุ่นและสถานการณ์โลกได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
  • เข้าใจคำศัพท์และสำนวนที่ใช้ในหนังสือพิมพ์ และสามารถสรุปเนื้อหาได้อย่างกระชับด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
  • สร้างความสนใจในข่าวสารประจำวัน และตระหนักว่าข่าวสารเหล่านั้นมีความหมายต่อชีวิตของตนเองอย่างไร
เสียงจากผู้เรียน

เมื่อมาญี่ปุ่น ฉันต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นให้มากขึ้น จึงเลือกเรียนวิชานี้ ในคลาสเรียน เราศึกษาข่าวของสัปดาห์ที่แล้ว แบ่งออกเป็นหัวข้อต่างๆ และเรียนรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำความเข้าใจเนื้อหา หลังจากเรียนวิชานี้ ฉันเริ่มดูข่าวเป็นประจำ และสามารถเข้าใจข่าวสำคัญได้มากขึ้น

ภาษาญี่ปุ่นกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ผ่านการอ่านหนังสือพิมพ์และบทความออนไลน์ นักเรียนจะได้เรียนรู้คำศัพท์และคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่างๆ และสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
  • เข้าใจคำสำคัญจากหลากหลายสาขา และพัฒนาทักษะการค้นคว้าและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมเป็นภาษาญี่ปุ่น
  • พัฒนาทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นผ่านการนำเสนอข่าวที่ศึกษามาและถ่ายทอดความคิดเห็นของตนเองได้อย่างแม่นยำ
  • เรียนรู้ข่าวสารและมุมมองจากต่างประเทศผ่านเพื่อนร่วมชั้นเรียนเป็นภาษาญี่ปุ่น
เสียงจากผู้เรียน

ฉันเลือกวิชานี้เพราะต้องการศึกษาภาษาญี่ปุ่นให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในชั้นเรียน เราอ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ กำหนดหัวข้อ และจัดอภิปราย

ธุรกิจกับภาษาญี่ปุ่น
เรียนรู้มารยาทและการใช้ภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นสำหรับการหางานและการทำงานในญี่ปุ่น
จัดการบรรยายพิเศษร่วมกับศูนย์สนับสนุนการหางานสำหรับนักศึกษาต่างชาติในเกียวโต และบริษัทญี่ปุ่น

  • เรียนรู้ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการหางานในญี่ปุ่น และทำความเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรของญี่ปุ่น
  • พัฒนาทักษะการสื่อสารกับบริษัท และทำให้กระบวนการหางานราบรื่นขึ้น
  • เรียนรู้มารยาททางธุรกิจพื้นฐาน และสามารถนำไปใช้หลังจากเริ่มทำงานได้
เสียงจากผู้เรียน

นอกจากฉันจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำสุภาพและการเขียนเอกสารทางธุรกิจแล้ว บรรยายเกี่ยวกับมารยาทโดยผู้เชี่ยวชาญและการบรรยายจากศูนย์สนับสนุนการหางานของจังหวัดเกียวโตก็มีประโยชน์อย่างมาก เมื่อฉันได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างกระบวนการหางานในประเทศของฉันกับที่ญี่ปุ่น ฉันรู้สึกตระหนักและจริงจังมากขึ้น ฉันเชื่อว่าความรู้สึกนั้นช่วยให้ฉันสามารถหางานได้สำเร็จ

คลาสเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตวิทยาลัย
หลักสูตรสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตวิทยาลัย
  • กำหนดหัวข้อการวิจัยให้ชัดเจน
  • เขียนแผนการวิจัย
  • ค้นหาและติดต่อบัณฑิตวิทยาลัยและอาจารย์ที่ปรึกษาที่เหมาะสม
  • นำเสนอเนื้อหาการวิจัยในรูปแบบที่เป็นระบบ
ท้าทายการคัดลายมือ
เปิดคลาสสำหรับนักเรียนที่ไม่มีพื้นฐานอักษรคันจิ โดยเน้นการเขียนภาษาญี่ปุ่นอย่างสวยงาม ฝึกเขียนตามแบบตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจลำดับขีดและความสมดุลของตัวอักษรได้อย่างถูกต้อง
  • เรียนรู้พื้นฐานของตัวอักษร
  • เขียนคำที่ชอบและสร้างสรรค์ผลงาน
ท้าทายคันจิ
คลาสนี้มุ่งเน้นไปที่นักเรียนที่ไม่มีพื้นฐานอักษรคันจิ เพื่อลดความรู้สึกต่อต้านคันจิและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • การประยุกต์ใช้ตำราเรียน พื้นฐานของคันจิในภาษาญี่ปุ่น แนะนำและใช้งานเว็บไซต์อินเทอร์เน็ต เกมคันจิ เป็นต้น
ศิลปะและการออกแบบขั้นพื้นฐาน

คอร์สนี้ศึกษาความรู้และเทคนิคที่จำเป็นต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้านศิลปะหรือวิทยาลัยวิชาชีพด้านการออกแบบ โดยจะเริ่มปูพื้นฐานตั้งแต่ต้น ดังนั้นคนที่ไม่มีประสบการณ์ด้านศิลปะหรือการออกแบบมาก่อนเลยก็สามารถลงเรียนได้ นอกจากนี้ จะมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลการสอบเข้าและอาจารย์จาก Kyoto University of the Arts (KUA) มาให้ความรู้เดือนละครั้ง (บรรยายเรื่องการเตรียมตัวสอบเข้า Kyoto University of the Arts)
มีวิชาเรียนหลัก 3 วิชาโดยเน้นเรื่องการวาดภาพ สี และองค์ประกอบสามมิติ สำหรับคนที่ไม่เคยเรียนศิลปะมาก่อน จะเริ่มตั้งแต่การปูพื้นฐาน มีการทดลองทำข้อสอบในอดีตและฝึกสร้างสรรค์ผลงานภายในระยะเวลาที่กำหนด และยังมีวิชาพิเศษเพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนอผลงานซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการอธิบายผลงาน

ระยะเวลาลงทะเบียนเรียน ตุลาคม - กรกฎาคม
ค่าลงทะเบียนเรียน 160,000 เยน(※มีค่าอุปกรณ์เพิ่มอีกประมาณ 15,000 เยน)。
เวลาเรียน 13:30 – 16:30
  • สัปดาห์ละ 2 วัน พุธ ศุกร์
รายชื่อสถาบันที่นักเรียนสอบเข้าได้ (ประจำปี 2558)
  • Kyoto University of the Arts
  • Kyoto Seika University
  • Kyoto Saga University of Arts
  • Kyoto Institute of Design
  • ICS College of Arts
  • Osaka Designers' College
  • Tokyo Designer Gakuin College
  • Tokyo Design Academy
เงื่อนไขการลงทะเบียนเรียน
  • สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยวิชาชีพด้านศิลปะ
  • ต้องเรียนอยู่ระดับกลางขึ้นไป ณ เดือนตุลาคม

※วิชานี้สำหรับนักเรียนที่เริ่มเรียนตั้งแต่พื้นฐาน ไม่มีการสอนเพื่อเตรียมสอบเข้าบัณฑิตวิทยาลัย

การวาดภาพ
เรียนรู้เรื่องการวาดภาพที่ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบภาพด้วยการศึกษาวิธีการวาดภาพและฝึกฝนการวาดภาพพื้นฐานซ้ำๆ

สี
จำคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับสี ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง เข้าใจลักษณะพิเศษของสีและเรียนรู้วิธีใช้สีตาม Practical Color Co-ordinate System (ระบบสีที่คิดค้นโดยศูนย์วิจัยสีของญี่ปุ่น)

บรรยายเรื่องการเตรียมตัวสอบเข้า
Kyoto University of the Arts

วิชานี้จะมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลการสอบเข้าและอาจารย์จาก Kyoto University of the Arts(KUA) มาให้ความรู้เดือนละครั้ง ผู้เรียนจะได้ตรวจสอบระดับความรู้ความสามารถของตนเองพร้อมกับเรียนรู้เทคนิควิธีการและความรู้ที่จำเป็นอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อสอบให้ผ่าน โดยตั้งเป้าให้ผ่านการสอบคัดเลือกแบบ AO (เดือน ส.ค. และ ต.ค.) เนื้อหาการบรรยายจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ตั้งใจจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยวิชาชีพอื่นๆ เช่นกัน นอกจากนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เทคนิคและความรู้ที่จำเป็นต่อการศึกษาหลังเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยวิชาชีพแล้วด้วย

กิจกรรมการเรียนรู้นอกชั้นเรียน

ประชุมนำเสนอผลงาน
นำเสนอผลงานจากการเรียนวิชาสัมมนา เช่น หัวข้อวิจัยรายบุคคล หัวข้อวิจัยรายกลุ่ม ณ “Shunjyuza” โรงละครของมหาวิทยาลัย

วันวัฒนธรรม
มีกำหนดวันวัฒนธรรมสำหรับแต่ละภาคเรียนซึ่งเป็นวันที่นักเรียนจะได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของญี่ปุ่น สร้างความสนใจต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่นและภาษาญี่ปุ่นให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นผ่านการ “ได้เห็น ได้ยินและได้สัมผัสประสบการณ์จริง” เช่น พิธีชงชา การย้อมผ้า Yuzen การทอผ้า Nishijin-ori ขนมหวานญี่ปุ่น การร่ายรำแบบญี่ปุ่น เครื่องปั้นดินเผา Kiyomizu-yaki ฯลฯ

กิจกรรมนอกโรงเรียน
งานแลกเปลี่ยนที่ไม่จำกัดชั้นเรียนหรือระดับความสามารถ โดยมีการจัดกีฬาสีเล็กๆ และทำอาหารร่วมกันที่อาคารสันทนาการ ซึ่งจะเป็นก้าวแรกของการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับเพื่อนต่างชาติ

โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยวิชาชีพ

ดำเนินโครงการประสานความร่วมมือกับสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกันได้แก่ Kyoto University of the Arts และ Kyoto Institute of Design

Kyoto Institute of Design

  • การบรรยายพิเศษโดยอาจารย์จากวิทยาลัย (“วัฒนธรรมเกียวโต I” ฯลฯ)

Kyoto University of the Arts

★การเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรม
Club, Circle


ติดต่อสอบถาม

กรอกข้อมูลแล้ว ยืนยันความถูกต้องแล้วกดปุ่ม "ยืนยัน" ช่องที่ระบุไว้ว่า "ต้องกรอก" ให้ใส่ข้อมูลให้ครบ

ชื่อ【ต้องกรอก】 นามสกุล:
ชื่อ:
สัญชาติ【ต้องกรอก】
เพศ【ต้องกรอก】    
อายุ【ต้องกรอก】
อีเมลล์【ต้องกรอก】
ยืนยันอีเมลล์อีกครั้ง【ต้องกรอก】
เบอร์โทรศัพท์【ต้องกรอก】
คอร์สเรียนที่สนใจ【ต้องกรอก】
      
ระดับการศึกษาล่าสุด【ต้องกรอก】
ระยะเวลาที่ต้องการเข้าศึกษา【ต้องกรอก】
รายละเอียดที่ต้องการสอบถาม【ต้องกรอก】
contact us
PageTop